แน่นอนว่าทุกวันนี้หลายองค์กรมักพบเจอกับปัญหา หาคน ที่มีช่องว่างระหว่างอายุที่ต้องการทำงานร่วมกัน ซึ่งแต่ละ Generation ก็จะมีรูปแบบและลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นทางด้านทัศนคติรวมถึงมุมมองทางด้านการทำงานอีกด้วย ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ทำให้หลายองค์กรต้องพบเจอพนักงานในองค์กรเกิดความขัดแย้งกันเอง เนื่องจากมีแนวคิดและทิศทางการทำงานที่แตกต่างกัน ส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานให้ไม่มีประสิทธิภาพตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนี้หลายคนอาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้วมันส่งผลกระทบต่อการแข่งขันทางธุรกิจอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเสียโอกาสทางด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรโดยตรง
จากปัญหาเหล่านั้นทำให้หลายองค์กรต้องให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือฝ่าย HR เข้ามาดูแล รวมถึงจัดการฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นภายในองค์กร เรียกได้ว่าปัญหานี้เป็นพื้นฐานที่ทำให้องค์กรเกิดความแตกแยกก็เป็นได้ ซึ่งแน่นอนว่าในกระบวนการสมัครงานนั้น ในเอกสารการประกาศรับสมัครงาน ส่วนใหญ่แล้วจะมีการระบุช่วงอายุของผู้สมัครที่องค์กรต้องการอย่างชัดเจน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่อาจจะมีผลเกิดขึ้นในอนาคตก็เป็นได้ ดังนั้นไม่ว่าผู้สมัครงานจะเป็นคนที่มีช่วงอายุเท่าไหร่ก็ตาม อีกหนึ่งบทบาทที่มีความสำคัญต่อฝ่าย HR คือ การสามารถสื่อสารให้ผู้สมัครงานได้ทราบและทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานอย่างชัดเจน ลดช่องว่างที่จะทำให้เกิดปัญหาในอนาคต รวมถึงการปรับทัศนคติของผู้สมัครงานใหม่ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับองค์กรอีกด้วย
รูปแบบกลุ่มคนที่ก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย
- เจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ส (Baby Boomers) กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 52-70 ปี ถือเป็นบุคคลที่เกิดมานานกว่าช่วงระยะเวลาอื่นๆ ดังนั้นแล้วส่วนใหญ่มักจะมีแนวคิดการให้เกียรติกันทางสังคม เรียกได้ว่าให้เกียรติผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่ยาวนานกว่า กลุ่มคนช่วงอายุนี้จะไม่ค่อยมีการพัฒนาการทำงานที่มีความเกี่ยวโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยังคงเป็นรูปแบบการทำงานแบบเดิมๆ แต่ก็ถือว่ากลุ่มช่วงอายุนี้เป็นกลุ่มคนทำงานที่มีลักษณะส่วนตัวที่องค์กรส่วนใหญ่มีความต้องการเลยก็ว่าได้ เช่น มีความขยัน อดทนสูง ทุ่มเทและให้ความสำคัญกับงานที่ตนได้รับมอบหมาย ยังคงยึดถึงในกฏระเบียบขององค์กรอย่างเคร่งครัด ไม่ค่อยที่จะสร้างปัญหาให้กับองค์กร เรียกได้ว่ามีความจงรักภักดีต่อองค์กรสูงเลยทีเดียว ถึงคนกลุ่มนี้นับวันจะมีอายุการทำงานที่มากขึ้นแล้ว แต่ก็ไปดูถูกพวกเค้าไม่ได้ เพราะพวกเค้าได้ผ่านร้อนผ่านหนาว รวมถึงมีประสบการณ์ในการทำงานมาอย่างโชคโชนเลยทีเดียว
- 2. เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ (Generation X) กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 36-51 ปี เป็นกลุ่มบุคคลที่เติบโตมากับช่วงระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคเทคโนโลยสมัยใหม่ และเริ่มที่จะมุ่งเน้นความสำคัญไปสู่ระบบดิจิทัลที่มีเครื่องมือต่างๆ สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว คนกลุ่มนี้จะทำงานมากสักพักเริ่มที่จะมีรายได้และมองหาวัตถุนิยม ที่จะเข้ามาเติมเต็มในสังคมไปสู่การใช้ชีวิตประจำวัน ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่มีแนวความคิดเป็นของตนเอง เรียกได้ว่าสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างสบาย รวมถึงเริ่มมองหาความก้าวหน้าที่จะนำพวกเค้าไปสู่จุดมุ่งหมายต่างๆ ที่ได้ตั้งไว้ เพื่อให้เกิดความสมดุลในการดำเนินชีวิต แต่แนวคิดและทิศทางการทำงานส่วนใหญ่มักจะมาจากการหาความรู้อื่นๆ เพิ่มเติมและนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน รู้จักที่จะปรับตัวพร้อมทั้งยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น รวมถึงมีประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีทางด้านดิจิทัลเป็นอย่างดี นอกจากนี้คนกลุ่มนี้เริ่มมีแนวคิดการทำงานเป็นของตนเอง ชอบแสดงความคิดเห็นไม่ชอบการทำงานตามคำสั่งอย่างเดียว
- เจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 16-35 ปี คนกลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่มีการแข่งขันทางด้านการศึกษาค่อนข้างสูง พร้อมทั้งเติบโตมากับเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงรู้ถึงความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ชอบที่จะหาประสบการณ์ หรือสิ่งใหม่ๆ ผ่านโลกโซเชียล บางครั้งมีมุมมองและแนวความคิดที่แตกต่างไปจากคนกลุ่มอื่นๆ เรียกได้ว่าเชื่อถือข้อมูลที่ได้รับมาผ่านสื่อออนไลน์ มากกว่าฟังข้อมูลจากผู้ปกครอง คนกลุ่มนี้มีความมั่นใจในตนเอง รวมถึงมั่นใจในความรู้ความสามารถที่ตนเองมี ไม่ชอบทำตามกฏข้อบังคับ หรือถูกจำกัดการทำงานในเรื่องของเวลา และทิศทางการทำงานที่หัวหน้างานหรือผู้บริหารกำหนด เกณฑ์การคัดเลือกงานมีความคาดหวังถึงสวัสดิการ เงินเดือน และผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับเป็นหลัก อีกทั้งคนประเภทนี้มีความอดทนค่อนข้างต่ำ เปลี่ยนงานบ่อย แต่คาดหวังเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนงาน ถูกโน้มน้าวด้วยสื่อออนไลน์ได้ง่าย มักใหญ่ใฝ่สูง อยากเป็นเจ้าของกิจการมากกว่าเป็นพนักงานบริษัท
จะเห็นได้ว่าในแต่ละองค์กรมักจะประสบกับปัญหาที่เกิดความขัดแย้งของพนักงานในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีมุมมองและแนวทางการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นหากองค์กรไหนอยากให้องค์กรเกิดความก้าวหน้า ต้องสร้างความสามัคคีให้แกพนักงาน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรไม่ควรมองข้าม เพื่อให้เกิดความสมดุลต่อกระบวนการทำงานของแต่ละแผนก พร้อมทั้งช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตอีกด้วย แต่ไม่ว่าพนักงานของคุณจะอยู่ในช่วงอายุไหนก็ตาม สิ่งสำคัญคือการเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ พร้อมเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น อย่าทำงานย่ำอยู่กับที่ไม่งั้นองค์กรจะไม่เกิดการพัฒนาเลย